Cute Pink Flying Butterfly

วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   Science Experiences Management for Early Childhood
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ
  ไปศึกษาดูงานการจัดนิทรรศการของพี่ปี 5 สาขา การศึกษาปฐมวัย
1. Project Approach เรื่องดอกดาวเรือง
   1.1อันดับแรกเลยเด็กๆระดมสมองร่วมกัน ในการหาหัวเรื่องที่จะเรียน คือ กลุ่ม 1 เรื่องขนมชั้น และกลุ่ม 2 เรื่องดอกดาวเรือง พี่ๆเล่าว่าเด็กๆสนใจเรื่องดอกดาวเรืองจึงทำเรื่องนี้ขึ้นมา
   1.2 เป็นภาพประสบการณ์เดิมของเด็กๆเกี่ยวกับดอกดาวเรือง คือให้เด็กๆวาดรูปแล้วเล่าเกี่ยวกับภาพที่วาด แล้วพี่ๆเขียนตามที่เด็กเล่าจากภาพ เช่น หนูเคยปลูกดอกดาวเรืองที่โรงเรียน ปลูกดาวเรืองที่สนาม ฯลฯ
   1.3 ใช้ดินน้ำมันปั้นดอกดาวเรืองตามจินตนาการของเด็กๆ ซึ่งเพื่อนสงสัยว่าสีที่ใช้ในการปั้นไม่เป็นสีเหลืองเหมือนกับสีของดอกดาวเรืองเด็กๆจะไม่สงสัยหรอว่าทำไมไม่ใช้สีเหลือง ซึ่งพี่ๆก็จะอธิบายว่าในห้องจะมีข้อตกลงว่าห้ามน้ำสีดินน้ำมันมาผสมกันซึ่งเด็กๆเข้าใจและไม่สงสัยว่าทำไมไม่ใช้สีเหลืองในการปั้นดอกดาวเรือง
   1.4 คำถามที่เด็กๆอยากรู้เกี่ยวกับดาวเรือง เช่น ดอกดาวเรืองมีกี่ประเภท นานเท่าไหร่ดาวเรืองจะออกดอก ลักษณะของต้นดาวเรืองเป็นอย่างไร ฯลฯ ซึ่งต่อไปพี่ๆก็จะไปหาคำตอบให้กับเด็กๆ โดยทำแผ่นชาร์ตขึ้นมาในสิ่งที่เด็กๆอยากรู้เกี่ยวกับดอกดาวเรือง
   1.5 ลงมือปฏิบัติในการปลูกดอกดาวเรือง ซึ่งก็จะเชิญพ่อของน้องมาสาธิตในการปลูกดอกดาวเรือง พี่ๆก็นำผลงานที่น้องๆปลูกดาวเรืองมาให้ดูด้วย
   1.6 ซึ่งเมื่อจบ Project Approach เรื่องดอกดาวเรือง ก็จะมีการ์ดเชิญในการชมนิทรรศการเรื่องดาวเรืองของเด็กๆ
- รูปภาพประกอบของ Project Approach เรื่องดอกดาวเรือง









2. การจัดการเรียนการสอนแบบไฮสโคป (High Scope)

    ไฮสโคป (High Scope) เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่างๆอย่างอิสระ ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget) นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก ความสำคัญในด้านพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนจะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกืดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
   ไฮสโคป (High Scope) ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ
    1. การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ
   2. การปฏิบัติ (Do) คือการลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนด โดยมีครูเป็นผู็ให้คำแนะนำช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีพัฒนาการพูดและปฏฺิสัมพันธ์ทางสังคมสูง
   3. การทบทวน (Review) เด็กๆจะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริง คือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่างๆที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง
   ประโยขน์ของแนวการสอนแบบไฮสโคป (High Scope) ที่มีต่อเด็ก
   - สอนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้อื่น ซึ่งเริ่มต้นจากความไว้วางใจโดยครูเป็นผู้สร้างความไว้วางใจให้แกเด็กเพื่อให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมหรือชิ้นงานตามความสนใจของตนเองและมีความสนุกในการเรียนรู้ที่จะทำงาน
   - การลงมือทำงาน ฝึกให้เด็กวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน เป็นระบบ
   - เด็กได้ฝึกสมาธิทำให้เด็กเกิดปัญญา ฝึกความมีระเบียบวินัย ฝึกการคิดอย่างมีความหมาย ผลที่ตามมาคือ ความสำเร็จในการทำงานที่ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ได้เรียนรู้และมีความสุขในการทำงานที่ตอนสนใจ
- รูปภาพประกอบการสอนแบบไฮสโคป (High Scope)





3. การจัดนวัตกรรมเกี่ยวกับอาเซียน




การนำไปใช้
  ทำให้เราเกิดการคิดอย่างเป็นระบบรู้ถึงการจัดการเรียนการสอน รู้จักใช้สิ่งใกล้ตัวมาเป็นประโยชน์ได้


การประเมิน
  ตนเอง➤ตั้งใจฟังพี่นำเสนอผลงาน 
  อาจารย์➤ให้เราไปฟังเพื่อที่จะเป็นความรู้
  สภาพแวดล้อม➤เพื่อนๆตั้งใจฟังพี่ๆ จดเนื้อหาที่สำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย    Science Experiences Management for Early Childhood บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 วัน...