Cute Pink Flying Butterfly

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   Science Experiences Management for Early Childhood
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันอังคารที่ 19 กันยายนพ.ศ.2560

ความรูู้ที่ได้รับ
  วันนี้เพื่อนนำเสนอตัวอย่างการสอนและนำเสนอวิจัย ตัวอย่างการสอนผู้นำเสนอได้แก่ นางสาวกรรณิการ์ เกตมุติ เลขที่1 สอนวิทย์คิดสนุกของอาจารย์กรรณิการ์ เฉิน เป็นการใช้คำถามในการกระตุ้นเพื่อให้เด็กเกิดการวิเคราะห์โดยไม่ต้องตัดสินว่าอันไหนถูกผิดเป็นการตั้งปัญหา สืบเสาาะหาว่าทำไมเป็นสีดำถ้าสีดำโดนกระดาษทิชชูจะเกิดอะไรขึ้น ตั้งสมมติฐานอาจมีสีแดง สีเขียวเกิดขึ้น จากการทดลองคือน้ำซึมใส่กระดาษทิชชู่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นสีต่างๆ การเปรียบเทียบ สรุปคือเป็นไปตามสมสติฐานที่ตั้งไว้
  นางสาวสุวนันต์ เพ็ชรักษ์ เลขที่ 4 นำเสนอวิจัยชื่องานวิจัยว่า "การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ" โดยในแผนการสอนที่เพื่อนได้นำเสนอนั้นเป็นโครงการเรื่องถั่ว โดยการเรื่องหัวข้อโครงการนั้นควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก ซึ่งควรอิงจากสาระที่ควรเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ได้แก่ ตัวเรา บุคคลและสถานที่ ธรรมชาติรอบตัว สิ่งต่างๆรอบตัว
  จากนั้นหลังที่เพื่อนๆได้นำเสนอตัวอย่างการสอนและงานวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้วอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทั้งหมดแบ่งกลุ่ม 4 - 5 คน แล้วให้คิดเมนูอาหารของแต่ละกลุ่ม แล้วอาจารย์ก็ได้ให้แต่ละกลุ่มเขียนวัตถุดิบ อุปกรณ์ และขั้นตอนการทำคร่าวๆ เขียนลงในกระดาษแล้วเสนออาจารย์เพื่อที่อาจารย์จะได้ช่วยตรวจสอบความเรียบร้อยและความถูกต้อง กลุ่มของข้าพเจ้าได้คิดเมนูคือ ไอศครีมเขย่า

วัตถุดิบ 
1. นมจืด
2. นมข้นหวาน
3. ช็อกโกแลตตกแต่ง
4. เยลลี่
5. ท็อปปิ้งเรนโบว์
6. กล้วยหอม
7. โอโจ้แท่ง
8. น้ำแข็ง
9. เกลือ

อุปกรณ์
1. กะละมังสแตนเลส
2. ที่คนส่วนผสม
3. ช้อนโต๊ะ
4. ถ้วยตวง
5. ถุงซิปล็อกขนาดเล็กและขนาดใหญ่
6. ถ้วย

ขั้นตอน
1. ให้เด็กๆตักนมจืด 1 ถ้วยตวงใส่ในถ้วยของตนเอง
2. เด็กตักนมข้นหวาน 2 ช้อนโต๊ะใส่ในถ้วยของตนเอง
3. ให้เด็กๆนำนมจืดและนมข้นหวานเทรวมกันในกะละมังสแตนเลส พร้อมทั้งคนส่วนผสมให้เข้ากันใส่เกลือเล็กน้อย
4. หลังจากนั้นให้เด็กๆเทส่วนผสมลงในถุงซิปล็อกขนาดเล็ก
5. ใส่น้ำแข็งและเหลือลงในถุงซิปล็อกขนาดใหญ่พร้อมเขย่าให้เข้ากัน
6. นำนมที่อยู่ในถุงซิปล็อกเล็กใส่เข้าไปในถุงซิปล็อกใหญ่ที่มีน้ำแข็งอยู่พร้อมทั้งปิดปากถุงให้เรียบร้อย
7. หลังจากนั้นเขย่าถุงซิปล็อกขนาดใหญ่ประมาณ 5 นาที จนนมแข็งเป็นไอศกรีม
8. ใช้ช้อนตักไอศกรีมใส่ถ้วยของตนเองพร้อมทั้งตกแต่ง

ซึ่งก่อนการที่เราจะทำกิจกรรมCooking เราต้องมีการทำแผ่นชาร์ต วัตถุดิบ เพื่อให้เด็กได้รับรู้ว่าในการทำกิจกรรมครั้งนี้มีส่วนประกอบอะไรบ้าง ชาร์ตสัดส่วน เป็นชาร์ตที่ใช้แสดงให้เด็กเห็นว่าเด็กต้องตักส่วนผสมเท่าไหร่จึงจะออกมาพอเหมาะ ชาร์ตขั้นตอนการทำ เป็นชาร์ตที่ใช้ในการบอกขั้นตอนการทำให้กับเด็ก ชาร์ตวางแผนตกแต่งไอศกรีม เป็นชาร์ตที่ทำการวางแผนที่จะตกแต่งไอศกรีมของเด็กๆแต่ละกลุ่ม การวางแผนเช่นนี้จะทำให้เด็กเกิดกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ รู้จักการวางแผนการทำงานเป็นขั้นตอน 

การนำไปใช้
  ทำให้เราเกิดการคืดอย่างเป็นระบบและนำไปใชกับการเรียนการสอนในอนาคตได้

การประเมิน
  ตนเอง➤ตั้งใจเรียน ฟังเพื่อนนำเสนอ ช่วยเพื่อนๆคิดเมนูอาหาร ร่วมมือกับอาจารย์
  อาจารย์➤สอนเข้าใจละเอียด คอยถามคำถามเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
  สภาพแวดล้อม➤เพื่อนๆร่วมมือกันดีแต่มีบางครั้งเพื่อนไม่ตั้งใจฟังอาจารย์



  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย    Science Experiences Management for Early Childhood บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 วัน...