การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มศึกษาหาข้อมูลดังต่อไปนี้
1.แบ่งกลุ่มกลุ่มละ5คน เพื่อศึกษาสถานที่ไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ที่กลุ่มของตนเองสนใจมานำเสนอสถานที่และสิ่งที่เราจะได้เรียนรู้จากสถานที่นั้นๆมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.แบ่งกลุ่มกลุ่มละ4คนเพื่อศึกษาข้อมูลสรุปจากหนังสืออย่างน้อย5เล่มเพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยมีหัวข้อดังนี้
⇒ความหมายความสำคัญของวิทยาศาสตร์
⇒พัฒนาการเด็กปฐมวัย
⇒จิตวิทยาการเรียนรู้
⇒แนวคิดของนักการศึกษาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
⇒หลักการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
โดยกลุ่มของข้าพเจ้าได้หัวข้อ แนวคิดของนักการศึกษาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โดยได้สรุปเนื้อหาดังนี้
จอห์น ดิวอี้ เชื่อว่า ความเจริญงอกงามทั้งทางด้าน ร่างกาย อารมณ์mสังคมและสติปัญญาเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการที่เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงจากการเผชิญสถานการณ์จริงและการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ผู้เรียนได้ฝึกคิด ฝึกลงมือทำและฝึกการแสวงหาความรูเป็นกลุ่ม กระบวนการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาเป็นกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง บางครั้งเรียกการสอนลักษณะนี้ว่า การสอนแบบวิทยาศาสตร์
บรูเนอร์ เชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมซึ่งนำไปสู่การค้นพบการแก้ปัญหาผู้เรียนจะประมวลข้อมูลข่าวสารจากการมปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและจะรับรู้ในสิ่งที่ตนเลือกหรือสอ่งที่ใส่ใจ การเรียนรูแบบนี้จะช่วยให้ค้นพบเนื่องจาก ผู้เรียนมีความอยากรูอยากเห็น ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันที่ทำให้สำรวจสิ่งแวดล้อมและทำให้เกิดการเรียนรูโดยการค้นพบ
ออซูเบล เชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูลการสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆโดยมีการใช้เหตุผลหรือการสังเกต การเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษณ์ในการที่จะสร้างความรู้และความเข้าใจให้แก่ตนเอง
ไวก็อตกี้ เชื่อว่า การเรียนรู้หรือการสร้าความรู้ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในของผู้เรียน โดยที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ โดยการนำประสบการณ์ที่พบเห็นในสิ่งแวดล้อมหรือสารสนเทศใหม่ที่ได้รับมาเชื่อมโยงกับความรู้ ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม มาสร้างเป็นความเข้าใจของตนเอง
การนำไปใช้
สามารถที่จะได้ศึกษาหาความรู้อย่างเป็นระบบ
การประเมิน
อาจารย์➤อธิบายรายละเอียดงานเข้าใจ ชัดเจน
ตนเอง➤จดงานที่ได้รับมอบหมาย ตั้งใจฟัง
สภาพแวดล้อม➤เพื่อนๆตั้งใจฟัง ซักถามเกี่ยวกับงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น