Cute Pink Flying Butterfly

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   Science Experiences Management for Early Childhood
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันอังคารที่ 5 กันยายนพ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

  **เนื่องจากไม่สบายจึงไม่สามารถไปเรียนได้จึงได้นำข้อมูลอ้างอิงจาก นางสาวศุภพิชญ์  กาบบาลี**

                วันนี้เริ่มด้วยกิจกรรมคำคล้องจอง โดยกติกาคือ คนแรกพูดมา 2คำ ภาษาอังกฤษ1คำ ภาษาไทย1คำ จะขึ้นต้นด้วยภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยก่อนก็ได้ เช่น คนแรกพูดว่า post  มด  คนที่2ก็จะต่อว่า  รถ  cat  โดยให้พร้องเสียงกัน ก็จะออกมาเป็น  post  มด  รถ  cat และทำแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆจนคนสุดท้าย
                  รอบต่อมาให้พูดคนละ1คำเป็นภาษาอังกฤษพร้อมความหมาย โดยคนที่มาต่อคำต้องพร้องเสียงกับของคนแรก เช่นคนแรกพูดว่า ดอกไม้  flower คนที่2จะต่อว่า เธอ  you  ก็จะออกมาเป็น ดอกไม้  flower  เธอ  you  ทำแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆจนครบ
                 ต่อมาอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มออกเป็น2กลุ่มโดยให้หัวข้อมา2หัวข้อ  คือ กลุ่มที่1 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์ และกลุ่มที่2 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ให้ศึกษาเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ของทฤษฎี







ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์
แนวคิด 
        พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นจากกระบวนการภายในอินทรีย์ เน้นสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญ
ลำดับขั้นพัฒนาการ 
 1.ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ เรียนรู้จากการกระทำและการสัมผัส
 2.ขั้นจินตนาการ เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้ ตามความเป็นจริงและคิดจากจินตนาการ
 3.ขั้นใช้สัญลักษณ์และความคิดรวบยอด  เด็กเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆรอบตัว
หลักการ ประกอบด้วย 4 ลักษณะ 
1.แรงจูงใจ
2.โครงสร้าง
3.ลำดับขั้นความต่อเนื่อง 
4.การเสริมแรง
แนวทางในการจัดการเรียนการสอน 
1.ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจภายในตัวเอง 
2.โครงสร้างบทเรียนมีความเหมาะสม 
3.การจัดลำดับความยากง่าย 
4.การเสริมแรงของผู้เรียน
สรุป ทุกคนมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ ผ่านขั้นความคิด 3 ขั้น ซึ่งจะเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต








ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
             ความหมาย การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะเป็นไปตามวัยอย่างเป็นลำดับขั้น ไม่ควรเร่งพัฒนาการเด็ก
            ความสำคัญ ความเข้าใจในธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก มากกว่าการกระตุ้นเด็กให้เกิดพัฒนาการที่ข้ามขั้น
ลำดับขั้นของพัฒนาการ 
1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (เริ่มตั้งแต่แรกเกิด-2ปี) เด็กวัยนี้ชอบเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ สามารถใช้มือประสานกับตาได้
2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (เริ่มตั้งแต่ 2-7ปี) แบ่งย่อยออกเป็น 2 ขั้น
        -ขั้นก่อนเกิดสังกัป (ช่วงอายุ 2-4ปี) เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ได้ แต่ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆยังอยู่ในระดับเบื้องต้น
        -ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ (ช่วงอายุ 4-7ปี) นึกออกเองโดยไม่ต้องใช้เหตุผล เริ่มมีการพัฒนาเกี่ยวกับการอนุรักษ์
3.ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (อายุ 7-11 ปี) เด็กจะมีความสามารถคิดแบบมีเหตุผล
4.ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (อายุ 11-15 ปี) เด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่








การนำไปประยุกใช้
            ครูควรคำนึงถึงพัฒนาการเด็กของ เด็กควรให้เด็กมีิอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามลำดับ
การนำไปประยุกต์ใช้
             หลักการของบูรเนอร์และเพียเจย์สามรถนำไปใช้ได้ในการเรียนการสอน โดยพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากตัวเด็กเองเน้นสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญ ครูควรคำนึงถึงพัฒนาการเด็กของ เด็กควรให้เด็กมีิอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามลำดับ ครูควรมีการจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กได้เรียนรู้ในขอบเขตที่จำกัด

การประเมิน
           อาจารย์➤อาจารย์ได้ให้ความรู้เพิ่มเติมจากที่เพื่อนนำเสนอ และอาจารย์ได้สรุปองค์ความรู้ให้  เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น
          ตนเอง➤-
         สภาพแวดล้อม➤เพื่อนช่วยกันทำงานกลุ่มของตนเองเป็นอย่างดี และช่วยเหลือกันในกลุ่ม

Vocabulary
Enactive Stage  = ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ
Lconic Stage  = ขั้นจินตนาการ
Symbolic Stage = ขั้นใช้สัญลักษณ์และความคิดรวบยอด
Sensori-Motor Stage = ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว
Preoperational Stage = ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด
Preconceptual Thought = ขั้นก่อนเกิดสังกัป
Intuitive Thought = ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล
Concrete Operation Stage = ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม
Formal Operational Stage =ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย    Science Experiences Management for Early Childhood บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 วัน...