การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันอังคารที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ได้เปิดบล็อกของเพื่อนทุกคนและได้ให้คำแนะนำข้อที่ควรแก้ไข ควรปรับปรุงสิ่งใด กิจกรรมของวันนี้ โดยอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละ4-5คน จากนั้นให้แต่ละกลุ่มหาขวดน้ำมากลุ่มละ2ขวด โดยเจาะรูขวดทั้ง2ต่างกัน
ขวดที่ 1 เจาะรูก้นขวด
- ครั้งที่ 1 เมื่อนำน้ำใส่ในขวดแล้วปิดฝา
ผลการทดลอง > น้ำไม่ไหลผ่านรูที่ก้นขวด
- ครั้งที่ 2 เมื่อนำน้ำใส่ขวดแล้วเปิดฝา
ผลการทดลอง > น้ำไหลผ่านรูที่ก้นขวด
- ครั้งที่ 1 เมื่อนำน้ำใส่ในขวดแล้วปิดฝา
ผลการทดลอง > น้ำค่อยๆไหลออกจากรูที่อยู่บนสุดไล่ลงมารูตรงกลางและรูล่างสุดโดยลักษณะการไหลของน้ำจะไหลเป็นเม็ดๆหยดลงมา
- ครั้งที่ 2 เมื่อนำน้ำใส่ในขวดแล้วเปิดฝา
ผลการทดลอง > น้ำไหลผ่านรูที่เจาะจากรูบนสุดไล่ลงมารูตรงกลางและรูล่างสุด โดยลักษณะการไหลของน้ำเป็นสายพุ่งออกจากรู
สรุปผลการทดลอง
ขวดที่1เจาะ1รูที่ก้นขวด
เกิดจาก เมื่อเราเปิดฝาขวดออก จะทำให้อากาศเข้าไปในขวดน้ำได้ และแรงดันอากาศนั่นเองจะดันน้ำให้ไหลออกมาจากรูที่ถูกเจาะเอาไว้ แต่เมื่อเราปิดฝา แรงดันอากาศก็ไม่สามารถเข้าไปได้ น้ำจึงไม่ไหล
ขวดที่2 เจาะ 3รูที่ข้างขวด โดยต่างระดับกัน
เกิดจาก แรงดันของน้ำบริเวณรูล่างสุดจะมากที่สุด แรงดันของน้ำบริเวณรูด้านบนจะน้อยที่สุด แรงดันของน้ำบริเวณระหว่างรูล่างสุด และบนสุดจะเท่ากัน แรงดันน้ำ ในที่ลึกจะมีแรงดันน้ำมากกว่า ส่วนบริเวณกลางๆ แรงดันน้ำก็จะคงที่ ส่วน ที่น้ำตื้นๆ แรงดันน้ำก็จะน้อย บริเวณที่ลึกที่สุด ส่งผลให้มีน้ำหนักของน้ำ หรือควารมดันของของเหลวมากที่สุด ทำให้น้ำที่ไหลออกจากรูที่ 3 มีความแรงที่สุดนั้นเอง
การนำไปใช้
ได้นำไปให้เด็กสังเกต และตอบคำถาม
การประเมิน
อาจารย์➤สอนเข้าใจในเนื้อหา ให้นักศึกษาปฏิบัติเพื่อที่จะเข้าใจได้ง่าย สรุปให้เข้าใจ
ตนเอง➤ตั้งใจเรียน ร่วมมือกับเพื่อนทดลองงานที่ได้รับมอบหมาย
สภาพแวดล้อม➤เพื่อนๆต่างช่วยกันทำงานช่วยกัน
ขวดที่1เจาะ1รูที่ก้นขวด
เกิดจาก เมื่อเราเปิดฝาขวดออก จะทำให้อากาศเข้าไปในขวดน้ำได้ และแรงดันอากาศนั่นเองจะดันน้ำให้ไหลออกมาจากรูที่ถูกเจาะเอาไว้ แต่เมื่อเราปิดฝา แรงดันอากาศก็ไม่สามารถเข้าไปได้ น้ำจึงไม่ไหล
ขวดที่2 เจาะ 3รูที่ข้างขวด โดยต่างระดับกัน
เกิดจาก แรงดันของน้ำบริเวณรูล่างสุดจะมากที่สุด แรงดันของน้ำบริเวณรูด้านบนจะน้อยที่สุด แรงดันของน้ำบริเวณระหว่างรูล่างสุด และบนสุดจะเท่ากัน แรงดันน้ำ ในที่ลึกจะมีแรงดันน้ำมากกว่า ส่วนบริเวณกลางๆ แรงดันน้ำก็จะคงที่ ส่วน ที่น้ำตื้นๆ แรงดันน้ำก็จะน้อย บริเวณที่ลึกที่สุด ส่งผลให้มีน้ำหนักของน้ำ หรือควารมดันของของเหลวมากที่สุด ทำให้น้ำที่ไหลออกจากรูที่ 3 มีความแรงที่สุดนั้นเอง
การนำไปใช้
ได้นำไปให้เด็กสังเกต และตอบคำถาม
การประเมิน
อาจารย์➤สอนเข้าใจในเนื้อหา ให้นักศึกษาปฏิบัติเพื่อที่จะเข้าใจได้ง่าย สรุปให้เข้าใจ
ตนเอง➤ตั้งใจเรียน ร่วมมือกับเพื่อนทดลองงานที่ได้รับมอบหมาย
สภาพแวดล้อม➤เพื่อนๆต่างช่วยกันทำงานช่วยกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น