Cute Pink Flying Butterfly

วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   Science Experiences Management for Early Childhood
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15
วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ

  ดูการทดลองของเพื่อนๆอาจารย์ให้คำแนะนำในการทดลองต่างๆให้สอดคล้องกับกระบวนการวิทยาศาสตร์การทดลองก็จะมีดังนี้
-ทอร์นาโดนขวดhttps://www.youtube.com/watch?v=mYUuy0lF__g
-การละลายhttps://www.youtube.com/watch?v=wvV4RxqIC5E
-อินดิเคเตอร์จากพืชhttps://www.youtube.com/watch?v=xdpGQoREJgs
   ทักษะทางวิทยาศาสตร์


การทำcooking โดยบูรณาการเข้ากับSTEM 
ขั้นตอนที่ 1 E=การออกแบบ (Engineering) ออกแบบเกี๊ยวที่ทุกคนอยากทำมาคนละ1แบบ ออกแบบหน้ารูปทรงเกี๊ยว ส่วนผสมที่จะใช้      อุปกรณ์ที่จะใช้ จากนั้นเลือกแบบที่ทุกคนในกลุ่มสนใจมาเพียง1แบบ ที่เราจะนำมาทำตามแบบโดยกลุ่มของเราเลือกจะทำแบบเรือ

ขั้นตอนที่ 2 M=คณิตศาสตร์(Math) พอเราออกแบบได้แล้วเราก็จะมาทำส่วนผสมว่าจะใส่อะไรบ้างและจะใส่เท่าไหร่ วัตถุดิบที่ให้เลือกมีดังนี้ หมูสับปรุงรส แครอท ผักชี ไส้กรอก ปูอัด วุ้นเส้น แผ่นเกี๊ยวจะได้คนละ2แผ่น (อัตตราส่วนแผ่นเกี๊ยว1:2)
โดยกลุ่มของเรา(4คน)เลือกใส่ หมูสับปรุงรส ไส้กรอก ปูอัด วุ้นเส้น
หมู4ช้อนชา  ไส้กรอก1ช้อนชา  ปูอัด1ช้อชา  วุ้นเส้น1ช้อนชา (อัตราส่วนต่อ4คน)



จากนั้นเราก็นำส่วนผสมมาห่อเกี๊ยวตามที่เราได้ออกแบบไว้




ขั้นตอนที่ 3 T=เทคโนโลยี (Technolgy) ในการทำเกี๊ยวทอดนั้นเราใช้เทคโนโลยีมากมายเลย เช่น กระทะไฟฟ้า ตะหลิว จาน ช้อน มีด


ขั้นตอนที่ 4 S=วิทยาศาสตร์ (Science) ในการนำเกี๊ยวมาทอดนั้นเราจะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  เราก็จะถามเด็กๆก่อนที่จะเริ่มทำอาหาร



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

    สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนที่ดี สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ในกระบวนการต่างๆให้เด็กเกิดทักษะทางกระบวนการวิทยาศาสตร์


การประเมิน
  ตนเอง➤ตั้งใจฟังอาจารย์ ช่วยเพื่อนทำงาน คิด ออกแบบ เกี๊ยวในกลุ่มของตนเอง
  อาจารย์➤คอยชี้แนะแนวทาง ให้คำแนะนำที่ดี 
  สภาพแวดล้อม➤เพื่อนๆร่วมกันทำงานเป็นอย่างดี

Vocabulary 
ความร้อน=Heat
การทอด=Frying
การทำอาหาร=Cooking
วิทยาศาสตร์= Science
เทคโนโลยี= Technolgy
การออกแบบ= Engineering
คณิตศาสตร์=Math
ศิลปะ=Art

วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   Science Experiences Management for Early Childhood
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ
  อาจารย์ตรวจสอบแผนผังที่ได้ทำในสับดาห์ที่ผ่านมาพร้อมให้คำแนะนำปรับปรุงแก้ไข



  หลังจากที่อาจารย์ให้คำแนะนำและแก้ไขเพิ่มเติมเราก็ได้ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความเหมาะสมมากขึ้นดังนี้


1.ชนิด➤กินได้     ⟶ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา ไข่ห่าน
          ➤กินไม่ได้ ⟶ไข่งู ไข่จิ้งจก ไข่จระเข้
2.ลักษณะ➤รูปทรง          ⟶ ทรงรี ทรงกลม
                ➤สี                  ⟶ สีขาว สีไข่
                ➤ขนาด           ⟶ เล็ก ปานกลาง ใหญ่
                ➤พื้นผิว           ⟶ เรียบ ขรุขระ
                ➤ส่วนประกอบ⟶ เปลือกไข่ ไข่ขาว ไข่แดง

3.การเก็บรักษา⟶ ไม่ล้างไข่ก่อนนำเข้าตู้เย็น
                        ⟶ เก็บไว้ในตู้เย็น
                        ⟶ ควรเก็บไว้ในช่องเก็บไข่หรือถาดไข่
                        ⟶ ไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 3 สัปดาห์

4.ประโยชน์➤ต่อร่างกาย⟶เส้นผมและเล็บมีสุขภาพดี
                                        ⟶มีคุณค่าทางอาหาร⤻ โปรตีน
                                                                           ⤻ วิตามิน
                                                                           ⤻ แร่ธาตุ
                  ➤ประกอบอาชีพ⟶แม่ค้า⤻ ขายไข่
                                                            ⤻ ขายขนม
                                                            ⤻ ขายอาหาร
                                             ⟶ทำฟาร์ม⤻ ฟาร์มเป็ด
                                                               ⤻ ฟาร์มไก่
                                                               ⤻ ฟาร์มนกทา
                  ➤ถนอมอาหาร⟶ไข่เค็ม
                                          ⟶ไข่เยี่ยวม้า
                                          ⟶ไข่ครอบ
                  ➤แปรรูป⟶ไข่ผง ไข่เหลว
                  ➤ประกอบอาหาร⟶คาว  ⤻ไข่ต้ม
                                                            ⤻ไข่เจียว
                                                            ⤻ไข่ตุ๋น
                                                            ⤻ ไข่ดาว
                                                            ⤻ไข่ปิ้ง
                                              ⟶หวาน ⤻ทองหยอด
                                                             ⤻ฝอยทอง
                                                             ⤻ไข่หวาน
5.ข้อพึงระวัง⟶หากกินไข่แดงมากเกินไปจะทำให้คอลเลสเตอรอลสูง
                    ⟶ไม่ควรกินไข่ดิบเพราะจะทำให้ติดเชื้อโรคได้

แผนผังของเพื่อนๆแต่ละกลุ่มที่ปรับปรุงแล้วดังนี้









 กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่จะต้องนำมาบูรณาการทั้ง 8 สาระเชื่อมกับรายวิชาหน่วยที่เรียน เน้นวิทยาศาสตร์  (ยกตัวอย่าง Mindmap ที่ทำ)
เกณฑ์ คือมาตรฐานขั้นต่ำ
1. สิ่งมีชีวิตกับการดำรงชีวิต ให้เห็นกระบวนการดำรงชีวิตของแต่ละหน่วย สามารถสังเกตสิ่งต่างๆเหล่านั้นได้
    เช่น Mindmap หมึก ไข่ ข้าว กล้วยคือธรรมชาติรอบตัว
           Mindmap น้ำ คือสิ่งต่างๆรอบตัว
 2. ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม - ต้องมีความสัมพันธ์กัน
                                    - ดึงสิ่งมีชีวิตมาให้เห็นเพราะเด็กจะได้รู้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตและสิ่งไหนไม่มีชีวิต
3. สารและสมบัติของสาร คือทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง
    เช่น การแปรรูป การประกอบอาหาร การเพาะขยายพันธุ์ และการทดลอง
4. แรงกับการเคลื่อนที่ คือ การทดลอง ตก จม ลอย ของสิ่งต่างๆ
5. พลังงาน คือการใช้พลังงานทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
    เช่น ความร้อนจาก การนึ่ง ต้ม ทอด ปิ้ง ย่าง
6. กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก คือแต่ละหน่วยเกี่ยวข้องอย่างไร
    เช่น
    - อาจจะกระทบกับรายได้ อาชีพตัวอย่างเช่นการตกหมึกจะต้องอาศัยเวลากลางคืน ถ้าอยากตกหมึกได้เยอะๆอาจจะต้องอาศัยฤดูกาลที่มีกลางคืนยาวนานกว่ากลางวัน
    - คมนาคม เช่น การขนส่งทางน้ำ
    - เชื้อโรค เช่น ไข่ เกิดการระบาดไข้หวัดนกแล้วต้องมีการขนส่งข้ามประเทศ ทำให้คนไม่กล้าบริโภค ทำให้มีผลกระทบกับรายได้
7. ดาราศาสตร์และอวกาศ เกี่ยวกับกลางวันกลางคืน
8. ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่จะต้องมี
    - คำถาม
    - สมมติฐาน
    - การทดลอง
    - สรุปผล
    - ย้อนกลับไปดูสมมติฐานว่าตรงกับที่สรุปได้หรือไม่
    - รายงานผล/นำเสนอ


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

    สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนที่ดี สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ในกระบวนการต่างๆ


การประเมิน
  ตนเอง➤ตั้งใจช่วยเพื่อนทำงาน ร่วมกันคิดมายแมพให้สมบูรณ์
  อาจารย์➤คอยชี้แนะแนวทาง ให้คำแนะนำที่ดี อธิบายแผนผังแต่ละกลุ่มอย่างละเอียดมีข้อบกพร่องตรงไหน ควรแก้ไขอย่างไร 
  สภาพแวดล้อม➤เพื่อนๆร่วมกันทำงานเป็นอย่างดี

     
Vocabulary 

Avail=ประโยชน์
Contours=รูปทรง
Surface=พื้นผิว
Food preservation=การถนอมอาหาร
Transformation=การแปรรูป




วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   Science Experiences Management for Early Childhood
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ

   จับกลุ่ม 4 - 5 คน ทำ Mind Map ลงบนชาร์จ พร้อมตกแต่งให้เรียบร้อย 
แต่ละหัวข้อประกอบไปด้วย 
⧭ชนิด 
⧭ลักษณะ 
⧭ส่วนประกอบ 
⧭การเก็บรักษา 
⧭ประโยชน์





การนำไปใช้
  ทำให้เราเกิดการคิดอย่างเป็นระบบรู้ถึงการจัดการเรียนการสอน รู้จักใช้สิ่งใกล้ตัวมาเป็นประโยชน์ได้


การประเมิน
  ตนเอง➤ตั้งใจช่วยเพื่อนทำงาน
  อาจารย์➤มอบหมายงานให้ทำ
  สภาพแวดล้อม➤เพื่อนๆร่วมกันทำงานเป็นอย่างดี

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   Science Experiences Management for Early Childhood
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2560






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  ในการสอนวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยเราจะต้องคำนึงถึ 8 กลุ่มสาระที่เด็กต้องเรียนรู้เพื่อเป็นพื้นฐานต่อไปยังชั้นประถมศึกษา โดยครูมีหน้าที่ช่วยแนะนำ และตั้งคำถามกระตุ้นให้เด็กได้คิด ได้ทดลอง และแก้ปัญหา โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส
    
การประเมิน
  ตนเอง➤ตั้งใจฟังอาจารย์ 
  อาจารย์➤คอยชี้แนะแนวทาง ให้คำแนะนำที่ดี 
  สภาพแวดล้อม➤เพื่อนๆร่วมกันทำงานเป็นอย่างดี

วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   Science Experiences Management for Early Childhood
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันอังคารที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2560






อุปกรณ์


-ลูกโป่ง
-ถ้วยใส
-แก้วใส
-โซดา
-นำตาลทรายก้อน
-เมล็ดพืช

วิธีการทดลอง
1.ตักเมล็ดพืชลงในขวดน้ำเปล่าสังเกตผล
2.ตักเมล็ดพืชลงในขวดน้ำโซดาแล้วสังเกตผล
3.นำน้ำตาลทรายก้อนใสลงในขวดโซดา แล้วนำลูกโป่งมาครอบปากขวดไว้ แล้วสังเกตผล

ผลการสังเกต
1.เมล็ดพืชดิ่งลงใต้ขวดไม่ลอยขึ้นลง
2.เมล็ดพืชลอยขึ้นลงไปมา
3.เกิดฟองอากาศเป็นจำนวนมาก ลูกโป่งเริ่มพองขึ้นเรื่อยๆ

สรุปผลการทดลอง
  เมื่อใส่เมล็ดพืชลงในขวดที่มีน้ำเปล่าเมล็ดพืชจะเคลื่อนที่ก็ต่อเมื่อเขย่าขวดเท่านั้น จากนั้นเมล็ดพืชจะจมลงอย่างรวดเร็ว ส่วนในขวดที่ใสน้ำโซดาเมล็ดพืชจะเต้นขึ้นเต้นลงไปมาเมล็ดบางส่วนจะถูกฟองก๊าซเกาะและลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำ เมื่อลอยถึงผิวน้ำฟองก๊าซจะแตกออกทำให้เมล็ดพืชจมลงสู่ก้นขวด ยิ่งมีน้ำโซดามากเมล็ดพืชจะเคลื่อนที่ได้นานขึ้น ส่วนน้ำโซดาที่ใส่น้ำตาลทรายก้อนลงไปแล้วนำลูกโป่งมาครอบปากขวดไว้ฟองก๊าซจากน้ำตาลทรายก้อนที่ดันขึ้นจะทำให้ลูกโป่งพองขึ้น






วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   Science Experiences Management for Early Childhood
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ
ความรู้ที่ได้รับจากการชมคลิปวิดีโอเรื่อง อากาศ ได้รับความรู้ดังนี้ 
    - อากาศมีตัวตนและต้องการที่อยู่
    - อากาศมีน้ำหนักแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิรอบข้างว่าร้อนหรือเย็นมากน้อยเพียงใด ซึ่งอากาศร้อนจะทำให้อากาศมีน้ำหนักเบาลงและอากาศจะลอยขึ้น
    - เมื่อมีอะไรมาแทนที่อากาศ อากาศจะเคลื่อนที่ออกไป  
    - เด็กจะได้รับประสบการ์ผ่านการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 
    - เมื่อเด็กได้รับประสบการณ์จะนำประสบการณ์ไปสู่สมองและซึมซับจดจำเอาไว้ เมื่อเด็กเจอเหตุการ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเด็กก็จะนำเอาประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่มาเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และเกิดเป็นความรู้ใหม่
    - เมื่อเด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแสดงว่าเด็กเกิดการเรียนรู้
    - เด็กมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการอยู่รอดในสังคม
หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ทุกคนนำผลงานทั้งที่เป็นของเล่นเดี่ยว สื่อเข้ามุม มานำเสนอผลงานของตนเอง





การนำไปใช้
  ทำให้เราได้นำของเหลือใช้ที่มีประโยนช์มาประดิษฐ์เป็นของเล่นที่สามารถนำไปใช้ได้จริง


การประเมิน
  ตนเอง➤ตั้งใจเรียน ฟังเพื่อนนำเสนอ ทำชิ้นงานส่งอาจารย์ ดูคลิป
  อาจารย์➤คอยถามคำถามเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
  สภาพแวดล้อม➤เพื่อนๆต่างตั้งใจนำเสนอผลงานของตนเอง
   

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   Science Experiences Management for Early Childhood
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ
  ไปศึกษาดูงานการจัดนิทรรศการของพี่ปี 5 สาขา การศึกษาปฐมวัย
1. Project Approach เรื่องดอกดาวเรือง
   1.1อันดับแรกเลยเด็กๆระดมสมองร่วมกัน ในการหาหัวเรื่องที่จะเรียน คือ กลุ่ม 1 เรื่องขนมชั้น และกลุ่ม 2 เรื่องดอกดาวเรือง พี่ๆเล่าว่าเด็กๆสนใจเรื่องดอกดาวเรืองจึงทำเรื่องนี้ขึ้นมา
   1.2 เป็นภาพประสบการณ์เดิมของเด็กๆเกี่ยวกับดอกดาวเรือง คือให้เด็กๆวาดรูปแล้วเล่าเกี่ยวกับภาพที่วาด แล้วพี่ๆเขียนตามที่เด็กเล่าจากภาพ เช่น หนูเคยปลูกดอกดาวเรืองที่โรงเรียน ปลูกดาวเรืองที่สนาม ฯลฯ
   1.3 ใช้ดินน้ำมันปั้นดอกดาวเรืองตามจินตนาการของเด็กๆ ซึ่งเพื่อนสงสัยว่าสีที่ใช้ในการปั้นไม่เป็นสีเหลืองเหมือนกับสีของดอกดาวเรืองเด็กๆจะไม่สงสัยหรอว่าทำไมไม่ใช้สีเหลือง ซึ่งพี่ๆก็จะอธิบายว่าในห้องจะมีข้อตกลงว่าห้ามน้ำสีดินน้ำมันมาผสมกันซึ่งเด็กๆเข้าใจและไม่สงสัยว่าทำไมไม่ใช้สีเหลืองในการปั้นดอกดาวเรือง
   1.4 คำถามที่เด็กๆอยากรู้เกี่ยวกับดาวเรือง เช่น ดอกดาวเรืองมีกี่ประเภท นานเท่าไหร่ดาวเรืองจะออกดอก ลักษณะของต้นดาวเรืองเป็นอย่างไร ฯลฯ ซึ่งต่อไปพี่ๆก็จะไปหาคำตอบให้กับเด็กๆ โดยทำแผ่นชาร์ตขึ้นมาในสิ่งที่เด็กๆอยากรู้เกี่ยวกับดอกดาวเรือง
   1.5 ลงมือปฏิบัติในการปลูกดอกดาวเรือง ซึ่งก็จะเชิญพ่อของน้องมาสาธิตในการปลูกดอกดาวเรือง พี่ๆก็นำผลงานที่น้องๆปลูกดาวเรืองมาให้ดูด้วย
   1.6 ซึ่งเมื่อจบ Project Approach เรื่องดอกดาวเรือง ก็จะมีการ์ดเชิญในการชมนิทรรศการเรื่องดาวเรืองของเด็กๆ
- รูปภาพประกอบของ Project Approach เรื่องดอกดาวเรือง









2. การจัดการเรียนการสอนแบบไฮสโคป (High Scope)

    ไฮสโคป (High Scope) เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่างๆอย่างอิสระ ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget) นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก ความสำคัญในด้านพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนจะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกืดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
   ไฮสโคป (High Scope) ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ
    1. การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ
   2. การปฏิบัติ (Do) คือการลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนด โดยมีครูเป็นผู็ให้คำแนะนำช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีพัฒนาการพูดและปฏฺิสัมพันธ์ทางสังคมสูง
   3. การทบทวน (Review) เด็กๆจะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริง คือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่างๆที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง
   ประโยขน์ของแนวการสอนแบบไฮสโคป (High Scope) ที่มีต่อเด็ก
   - สอนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้อื่น ซึ่งเริ่มต้นจากความไว้วางใจโดยครูเป็นผู้สร้างความไว้วางใจให้แกเด็กเพื่อให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมหรือชิ้นงานตามความสนใจของตนเองและมีความสนุกในการเรียนรู้ที่จะทำงาน
   - การลงมือทำงาน ฝึกให้เด็กวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน เป็นระบบ
   - เด็กได้ฝึกสมาธิทำให้เด็กเกิดปัญญา ฝึกความมีระเบียบวินัย ฝึกการคิดอย่างมีความหมาย ผลที่ตามมาคือ ความสำเร็จในการทำงานที่ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ได้เรียนรู้และมีความสุขในการทำงานที่ตอนสนใจ
- รูปภาพประกอบการสอนแบบไฮสโคป (High Scope)





3. การจัดนวัตกรรมเกี่ยวกับอาเซียน




การนำไปใช้
  ทำให้เราเกิดการคิดอย่างเป็นระบบรู้ถึงการจัดการเรียนการสอน รู้จักใช้สิ่งใกล้ตัวมาเป็นประโยชน์ได้


การประเมิน
  ตนเอง➤ตั้งใจฟังพี่นำเสนอผลงาน 
  อาจารย์➤ให้เราไปฟังเพื่อที่จะเป็นความรู้
  สภาพแวดล้อม➤เพื่อนๆตั้งใจฟังพี่ๆ จดเนื้อหาที่สำคัญ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย    Science Experiences Management for Early Childhood บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 วัน...