Cute Pink Flying Butterfly

วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6



การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   Science Experiences Management for Early Childhood
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันอังคารที่ 12 กันยายนพ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ
  วันนี้เพื่อนนำเสนอวิจัยผู้นำเสนอคือ นางสาวศุภพิชญ์  กาบบาลี เลขที่2 นำเสนอวิจัยเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยจุดมุ่งหมายของวิจัยนี้คือเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวมและจำแนกรายทักษะก่อนและหลังกาเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และทำวิจัยกับเด็กอนุบาล 2 โรงเรียนวัดยางสุทธาราม จำนวน 120 คน ผ่านเครื่องมือคือแผนการสอนและแบบทดสอบก่อนและหลัง โดยได้ผลสรุปคือ เด็กมีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น

  แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
 ⭆การเปลี่ยนแปลง (Change)⤏การเจริญเติบโตของมนุษย์ การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต
 ⭆ความแตกต่าง (Variety)⤏ต้นไม้เดียวกันแต่ละกิ่งไม่เหมือนกัน
 ⭆การปรับตัว (Adjustment)⤏การสร้างบ้านให้เหมาะกัยสภาพภูมิอากาศ เช่น ภาคอีสานอากาศร้อนจึงต้องสร้างบ้านสูง
 ⭆การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutually)⤏นกเอี้ยงกับควาย
 ⭆ความสมดุลย์ (Equilibrium)⤏ทุกสิ่งในโลกล้วนต้องปรับตัวให้ตัวเองอยู่รอด
  องค์ประกอบของวิทยาสตร์
 ⭆องค์ประกอบด้านความรู้เนื้อหา
 ⭆องค์ประกอบด้านเจตคติ
 ⭆องค์ประกอบด้านกระบวนการ
  ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะต้องอยู่บนเงื่อนไข3ประการคือ
🔺จะต้องเป็นความรู้ของธรรมชาติ
🔺จะต้องได้จากกระบวนการสืบเสาะหาวามรู้แบบวิทยาศาสตร์เข้าศึกษาค้นคว้า
🔺ผ่านการทดสอบว่าเป็นความจริง 
 จำแนกออกเป็น5ประเภท
  1.ข้อเท็จจริง(Fact) เช่นน้ำไหลจากที่สูงไปหาต่ำ
  2.มโนมติหรือความคิดรวบยอด (Concept) เช่น แมลงเป็นสัตว์ที่มี6ขาและลำตัวแบ่งเป็น3ส่วน
  3.หลักการ (Principle) เช่น ก๊าซเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว
  4.กฎ (Law) เช่น น้ำเมื่อเย็นตังลงจนเป็นน้ำแข็งปริมาตรของมันจะมากขึ้น
  5.ทฤษฎี (Theory) เป็นการทดลองมีข้อเท็จจริง คนทั่วไปยอมรับ
  วิธีการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
  ⭆ขั้นสังเกต (Observation)
  ⭆ขั้นตั้งปัญหา (State Problem)
  ⭆ขั้นตั้งสมมติฐาน (Make a Hypothesis)
  ⭆ขั้นทดสอบสมมติฐาน (Testing Hypothesis)
  ⭆ขั้นสรุป (Conclusion)

⧭หลังจากนั้นอาจารย์ให้หาของเล่น งานสื่อเข้ามุม และการทดลองที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มานำเสนออาจารย์

การนำไปใช้
  เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ที่เราสามารถนำมาสอนเด็กปฐมวัยได้

การประเมิน
  ตนเอง➤ตั้งใจเรียน ฟังเพื่อนนำเสนอ ร่วมมือกับอาจารย์
  อาจารย์➤สอนเข้าใจละเอียด คอยถามคำถามเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
  สภาพแวดล้อม➤เพื่อนๆร่วมมือกันดีแต่มีบางครั้งเพื่อนไม่ตั้งใจฟังอาจารย์

Vocabulary
 1.Change = การเปลี่ยนแปลง
 2.Variety = ความแตกต่าง
 3.Adjustment = การปรับตัว
 4.Mutually = การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
 5.Equilibrium = ความสมดุลย์
 6.Fact = ข้อเท็จจริง
 7.Concept = ความคิดรวบยอด
 8.Principle = หลักการ
 9.Law = กฎ
 10.Theory = ทฤษฎี
 11.Observation = ขั้นสังเกต
 12.State Problem = ขั้นตั้งปัญหา
 13.Make a Hypothesis = ขั้นตั้งสมมติฐาน
 14.Testing Hypothesis = ขั้นทดสอบสมมติฐาน
 15.Conclusion = ขั้นสรุป





  


วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5


การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   Science Experiences Management for Early Childhood
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันอังคารที่ 5 กันยายนพ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

  **เนื่องจากไม่สบายจึงไม่สามารถไปเรียนได้จึงได้นำข้อมูลอ้างอิงจาก นางสาวศุภพิชญ์  กาบบาลี**

                วันนี้เริ่มด้วยกิจกรรมคำคล้องจอง โดยกติกาคือ คนแรกพูดมา 2คำ ภาษาอังกฤษ1คำ ภาษาไทย1คำ จะขึ้นต้นด้วยภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยก่อนก็ได้ เช่น คนแรกพูดว่า post  มด  คนที่2ก็จะต่อว่า  รถ  cat  โดยให้พร้องเสียงกัน ก็จะออกมาเป็น  post  มด  รถ  cat และทำแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆจนคนสุดท้าย
                  รอบต่อมาให้พูดคนละ1คำเป็นภาษาอังกฤษพร้อมความหมาย โดยคนที่มาต่อคำต้องพร้องเสียงกับของคนแรก เช่นคนแรกพูดว่า ดอกไม้  flower คนที่2จะต่อว่า เธอ  you  ก็จะออกมาเป็น ดอกไม้  flower  เธอ  you  ทำแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆจนครบ
                 ต่อมาอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มออกเป็น2กลุ่มโดยให้หัวข้อมา2หัวข้อ  คือ กลุ่มที่1 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์ และกลุ่มที่2 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ให้ศึกษาเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ของทฤษฎี







ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์
แนวคิด 
        พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นจากกระบวนการภายในอินทรีย์ เน้นสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญ
ลำดับขั้นพัฒนาการ 
 1.ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ เรียนรู้จากการกระทำและการสัมผัส
 2.ขั้นจินตนาการ เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้ ตามความเป็นจริงและคิดจากจินตนาการ
 3.ขั้นใช้สัญลักษณ์และความคิดรวบยอด  เด็กเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆรอบตัว
หลักการ ประกอบด้วย 4 ลักษณะ 
1.แรงจูงใจ
2.โครงสร้าง
3.ลำดับขั้นความต่อเนื่อง 
4.การเสริมแรง
แนวทางในการจัดการเรียนการสอน 
1.ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจภายในตัวเอง 
2.โครงสร้างบทเรียนมีความเหมาะสม 
3.การจัดลำดับความยากง่าย 
4.การเสริมแรงของผู้เรียน
สรุป ทุกคนมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ ผ่านขั้นความคิด 3 ขั้น ซึ่งจะเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต








ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
             ความหมาย การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะเป็นไปตามวัยอย่างเป็นลำดับขั้น ไม่ควรเร่งพัฒนาการเด็ก
            ความสำคัญ ความเข้าใจในธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก มากกว่าการกระตุ้นเด็กให้เกิดพัฒนาการที่ข้ามขั้น
ลำดับขั้นของพัฒนาการ 
1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (เริ่มตั้งแต่แรกเกิด-2ปี) เด็กวัยนี้ชอบเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ สามารถใช้มือประสานกับตาได้
2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (เริ่มตั้งแต่ 2-7ปี) แบ่งย่อยออกเป็น 2 ขั้น
        -ขั้นก่อนเกิดสังกัป (ช่วงอายุ 2-4ปี) เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ได้ แต่ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆยังอยู่ในระดับเบื้องต้น
        -ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ (ช่วงอายุ 4-7ปี) นึกออกเองโดยไม่ต้องใช้เหตุผล เริ่มมีการพัฒนาเกี่ยวกับการอนุรักษ์
3.ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (อายุ 7-11 ปี) เด็กจะมีความสามารถคิดแบบมีเหตุผล
4.ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (อายุ 11-15 ปี) เด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่









การนำไปประยุกใช้
            ครูควรคำนึงถึงพัฒนาการเด็กของ เด็กควรให้เด็กมีิอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามลำดับ
การนำไปประยุกต์ใช้
             หลักการของบูรเนอร์และเพียเจย์สามรถนำไปใช้ได้ในการเรียนการสอน โดยพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากตัวเด็กเองเน้นสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญ ครูควรคำนึงถึงพัฒนาการเด็กของ เด็กควรให้เด็กมีิอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามลำดับ ครูควรมีการจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กได้เรียนรู้ในขอบเขตที่จำกัด

การประเมิน
           อาจารย์➤อาจารย์ได้ให้ความรู้เพิ่มเติมจากที่เพื่อนนำเสนอ และอาจารย์ได้สรุปองค์ความรู้ให้  เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น
          ตนเอง➤-
         สภาพแวดล้อม➤เพื่อนช่วยกันทำงานกลุ่มของตนเองเป็นอย่างดี และช่วยเหลือกันในกลุ่ม

Vocabulary
Enactive Stage  = ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ
Lconic Stage  = ขั้นจินตนาการ
Symbolic Stage = ขั้นใช้สัญลักษณ์และความคิดรวบยอด
Sensori-Motor Stage = ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว
Preoperational Stage = ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด
Preconceptual Thought = ขั้นก่อนเกิดสังกัป
Intuitive Thought = ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล
Concrete Operation Stage = ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม
Formal Operational Stage =ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม















บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4


การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   Science Experiences Management for Early Childhood
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันอังคารที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ

         วันนี้อาจารย์ได้เปิดบล็อกของเพื่อนทุกคนและได้ให้คำแนะนำข้อที่ควรแก้ไข ควรปรับปรุงสิ่งใด กิจกรรมของวันนี้ โดยอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละ4-5คน จากนั้นให้แต่ละกลุ่มหาขวดน้ำมากลุ่มละ2ขวด โดยเจาะรูขวดทั้ง2ต่างกัน

 
เจาะ1รูที่ก้นขวด

เจาะ 3รูที่ข้างขวด โดยต่างระดับกัน
การทดลอง
         ขวดที่ 1 เจาะรูก้นขวด
     - ครั้งที่ 1 เมื่อนำน้ำใส่ในขวดแล้วปิดฝา
        ผลการทดลอง > น้ำไม่ไหลผ่านรูที่ก้นขวด




- ครั้งที่ 2 เมื่อนำน้ำใส่ขวดแล้วเปิดฝา
        ผลการทดลอง > น้ำไหลผ่านรูที่ก้นขวด

    

ขวดที่ 2 เจาะรูต่างระดับ
     - ครั้งที่ 1 เมื่อนำน้ำใส่ในขวดแล้วปิดฝา
        ผลการทดลอง > น้ำค่อยๆไหลออกจากรูที่อยู่บนสุดไล่ลงมารูตรงกลางและรูล่างสุดโดยลักษณะการไหลของน้ำจะไหลเป็นเม็ดๆหยดลงมา
   

- ครั้งที่ 2 เมื่อนำน้ำใส่ในขวดแล้วเปิดฝา
        ผลการทดลอง > น้ำไหลผ่านรูที่เจาะจากรูบนสุดไล่ลงมารูตรงกลางและรูล่างสุด โดยลักษณะการไหลของน้ำเป็นสายพุ่งออกจากรู

    
  สรุปผลการทดลอง 
    ขวดที่1เจาะ1รูที่ก้นขวด
           เกิดจาก เมื่อเราเปิดฝาขวดออก จะทำให้อากาศเข้าไปในขวดน้ำได้  และแรงดันอากาศนั่นเองจะดันน้ำให้ไหลออกมาจากรูที่ถูกเจาะเอาไว้   แต่เมื่อเราปิดฝา  แรงดันอากาศก็ไม่สามารถเข้าไปได้ น้ำจึงไม่ไหล
     ขวดที่2 เจาะ 3รูที่ข้างขวด โดยต่างระดับกัน
           เกิดจาก แรงดันของน้ำบริเวณรูล่างสุดจะมากที่สุด แรงดันของน้ำบริเวณรูด้านบนจะน้อยที่สุด แรงดันของน้ำบริเวณระหว่างรูล่างสุด และบนสุดจะเท่ากัน แรงดันน้ำ ในที่ลึกจะมีแรงดันน้ำมากกว่า ส่วนบริเวณกลางๆ แรงดันน้ำก็จะคงที่ ส่วน ที่น้ำตื้นๆ แรงดันน้ำก็จะน้อย บริเวณที่ลึกที่สุด ส่งผลให้มีน้ำหนักของน้ำ หรือควารมดันของของเหลวมากที่สุด   ทำให้น้ำที่ไหลออกจากรูที่ 3 มีความแรงที่สุดนั้นเอง

การนำไปใช้
  ได้นำไปให้เด็กสังเกต และตอบคำถาม

การประเมิน
  อาจารย์➤สอนเข้าใจในเนื้อหา ให้นักศึกษาปฏิบัติเพื่อที่จะเข้าใจได้ง่าย สรุปให้เข้าใจ
  ตนเอง➤ตั้งใจเรียน ร่วมมือกับเพื่อนทดลองงานที่ได้รับมอบหมาย
  สภาพแวดล้อม➤เพื่อนๆต่างช่วยกันทำงานช่วยกัน





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3


การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   Science Experiences Management for Early Childhood
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ
  วันนี้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มได้นำเสนอสถานที่ ที่กลุ่มของตนเองไปศึกษาหาข้อมูลมาโดยมีสถานที่ดังนี้
➪ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี
➪อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์
➪Coro Field ฟาร์มสไตล์ญี่ปุ่นแห่งสวนผึ้ง จ.ราชบุรี
➪ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี

  กิจกรรมต่อมาอาจารย์อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่นและให้โจทย์มาว่าทำอย่างไรก็ได้ให้กระดาษลอยอยู่บนอากาศได้นานที่สุด เพื่อนหลายคนพับเป็นนก จรวด เครื่องบิน บางคนก็ไม่พับ จากนั้นก็นำมาโยนพร้อมกันทั้งห้องว่าของใครลอยอยู่บนอากาศได้นานที่สุด

  หลังจากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่มกลุ่มละ4-5คนร่วมกันระดมความคิดสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้ลอยอยู่บนอากาศได้นานที่สุดกลุ่มของข้าพเจ้าได้ทำเครื่องบินกระดาษ แต่ไม่สามารถลอยอยู่บนอากาศได้นานเท่ากลุ่มอื่น เนื่องจากบางกลุ่มใช้กระดาษเพียงครึ่งแผ่นบ้าง

  ครั้งนี้อาจารย์ให้ศึกษาจากอินเทอร์เน็ตได้ กลุ่มของข้าพเจ้าได้ทำเป็นกังหันกระดาษ เพื่อนกลุ่มอื่นๆได้ทำเป็นลูกยางกระดาษ ฉีกกระดาษเป็นชิ้นเล็กๆบ้าง เมื่อนำมาแข่งกันแล้วเพื่อนที่ทำเป็นลูกยางสามารถลอยอยู่บนอากาศได้นานที่สุด ทำให้กลุ่มของข้าพเจ้าเห็นข้อดี ข้อเสียของแต่ละกลุ่มและนำมาปรับปรุงแก้ไขของกลุ่มตนเองโดยที่กลุ่มลูกยางใหญ่ลอยได้นานกว่ากลุ่มลูกยางเล็ก เราแก้ไขโดยนำข้อดีของเพื่อนแต่ละกลุ่มมาปรับปรุงข้อเสียของกลุ่มตนเอง โดยปรับขนาดของกังหันให้ใหญ่ขึ้น และกังหันของเราก็สามารถลอยได้นานกว่ากังหันเล็ก

  เราจะเห็นได้ว่ากระดาษจะสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานที่สุดเนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น อากาศ ทิศทาง แรงงลม องศาการโยน ขนาดของสิ่งประดิษฐ์







การนำไปใช้
สามารถนำไปสอนเด็กในอนาคตและได้เรียนรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้กระดาษลอยได้นานที่สุดซึ่งเป็นความรู้ติดตัวสำหรับตนเอง

การประเมิน
อาจารย์➤สอนเข้าใจ กิจกรรมที่ทำได้ทั้งความรู้มากมาย ไม่น่าเบื่อ สนุก
ตนเอง➤ตั้งใจฟังอาจารย์ ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน และตอบคำถามอาจารย์
สภาพแวดล้อม➤ห้องเรียนนเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ เพื่อนๆตั้งใจเรียน

Vocabulary
Wind = ลม
Rubber = ลูกยาง
Rocket paper = จรวดกระดาษ
Movement =  การเคลื่อนที่
Floating in the air = ลอยอยู่ในอากาศ










บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2


การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   Science Experiences Management for Early Childhood
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ
  อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มศึกษาหาข้อมูลดังต่อไปนี้
1.แบ่งกลุ่มกลุ่มละ5คน เพื่อศึกษาสถานที่ไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ที่กลุ่มของตนเองสนใจมานำเสนอสถานที่และสิ่งที่เราจะได้เรียนรู้จากสถานที่นั้นๆมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.แบ่งกลุ่มกลุ่มละ4คนเพื่อศึกษาข้อมูลสรุปจากหนังสืออย่างน้อย5เล่มเพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยมีหัวข้อดังนี้
  ⇒ความหมายความสำคัญของวิทยาศาสตร์
  ⇒พัฒนาการเด็กปฐมวัย
  ⇒จิตวิทยาการเรียนรู้
  ⇒แนวคิดของนักการศึกษาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
  ⇒หลักการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
โดยกลุ่มของข้าพเจ้าได้หัวข้อ แนวคิดของนักการศึกษาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โดยได้สรุปเนื้อหาดังนี้


                จอห์น ดิวอี้  เชื่อว่า ความเจริญงอกงามทั้งทางด้าน ร่างกาย อารมณ์mสังคมและสติปัญญาเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการที่เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงจากการเผชิญสถานการณ์จริงและการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ผู้เรียนได้ฝึกคิด ฝึกลงมือทำและฝึกการแสวงหาความรูเป็นกลุ่ม กระบวนการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาเป็นกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง บางครั้งเรียกการสอนลักษณะนี้ว่า การสอนแบบวิทยาศาสตร์




               บรูเนอร์ เชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมซึ่งนำไปสู่การค้นพบการแก้ปัญหาผู้เรียนจะประมวลข้อมูลข่าวสารจากการมปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและจะรับรู้ในสิ่งที่ตนเลือกหรือสอ่งที่ใส่ใจ การเรียนรูแบบนี้จะช่วยให้ค้นพบเนื่องจาก ผู้เรียนมีความอยากรูอยากเห็น ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันที่ทำให้สำรวจสิ่งแวดล้อมและทำให้เกิดการเรียนรูโดยการค้นพบ




               ออซูเบล เชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูลการสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆโดยมีการใช้เหตุผลหรือการสังเกต การเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษณ์ในการที่จะสร้างความรู้และความเข้าใจให้แก่ตนเอง






                   ไวก็อตกี้ เชื่อว่า การเรียนรู้หรือการสร้าความรู้ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในของผู้เรียน โดยที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ โดยการนำประสบการณ์ที่พบเห็นในสิ่งแวดล้อมหรือสารสนเทศใหม่ที่ได้รับมาเชื่อมโยงกับความรู้ ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม มาสร้างเป็นความเข้าใจของตนเอง





การนำไปใช้
  สามารถที่จะได้ศึกษาหาความรู้อย่างเป็นระบบ

การประเมิน
 อาจารย์➤อธิบายรายละเอียดงานเข้าใจ ชัดเจน
 ตนเอง➤จดงานที่ได้รับมอบหมาย ตั้งใจฟัง
 สภาพแวดล้อม➤เพื่อนๆตั้งใจฟัง ซักถามเกี่ยวกับงาน








วันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1


การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   Science Experiences Management for Early Childhood
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันอังคารที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ
              แนะแนวเกี่ยวกับรายวิชาว่าเราจะเรียนเรื่องอะไรบ้างแจกแจงรายละเอียดต่างๆคำอธิบายรายวิชา จุดประสงค์ของวิชานี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 6 ด้าน ชี้แจงงาน การเขียนอนุทิน การหาข้อมูลต่างๆ บทความ ตัวอย่างการสอน เพลง เกม นิทาน องค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา ต้องมีคำศัพท์ภาษาอังกฤษในบล็อกต้องมีอะไรบ้าง ชี้แจงเกณฑ์การให้คะแนน กฏกติกาต่างๆภายในห้องเรียน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  ได้รู้รายละเอียดงานต่างๆสามารถทำงานตามเกณฑ์คคะแนนที่วางไว้ได้

การประเมิน
  อาจารย์➤อธิบายรายวิชาเนื้อหาที่เรียน เกณฑ์การให้คะแนนอย่างละเอียด
  ตนเอง➤ตั้งใจฟังอาจารย์

  สิ่งแวดล้อม➤อุปกรณ์ทุกอย่าง บรรยากาศ เอื้ิอต่อการเรียนรู้










บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย    Science Experiences Management for Early Childhood บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 วัน...